Saturday, 27 April 2024
อดุลย์ โชตินิสากรณ์

‘ดร.สุวินัย’ ตั้งข้อสงสัย 3 เรื่องถึง ‘ไพศาล’ เกิดอะไรขึ้นกับสภาพจิตของ ‘กูรู’ ท่านนี้

(17 ก.ค. 66) ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในหัวข้อ ‘กุนซือทิพย์ : บทเรียนด้านกลับสำหรับนักยุทธศาสตร์’ ใจความว่า…

จากรายการ "ถอนหมุดข่าว" ของ NEWS1 วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2566 ได้นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "ไพศาล พืชมงคลเป็นกูรูทิพย" ซึ่งมีความน่าสนใจยิ่ง  

ผมขอยก รายงานพิเศษ เรื่องนี้ มาให้อ่านกันอีกทีก็แล้วกัน ...

"โอกาสของพิธา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี แทบไม่เหลือแล้ว ...ต้องฝันค้างกลายเป็น ‘นายกฯ ทิพย์’p เพราะความหมกมุ่นกับการแก้ไข ม.112 ของพรรคก้าวไกล

คนที่เสียรังวัดอย่างแรงไปด้วยจากเดิมเป็นถึง 'กูรูการเมือง' ที่มีข่าวลึกๆลับๆมาโพสต์ทุกวัน จริงบ้างแต่เท็จจะเยอะกว่า แต่ตอนนี้ต้องมีสภาพเป็น 'กูรูทิพย์' ตาม 'นายกฯทิพย์' ไปแล้วเช่นกัน

เขาคนนั้นก็คือ นายไพศาล พืชมงคล อดีตกุนซือของลุงป้อม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งช่วงหลัง ออกอาการ 'ฝ่ายแค้น' กับพรรคพลังประชารัฐ ค่อนข้างชัดเจน

ขณะเดียวกัน นายไพศาลก็เผยไต๋ว่า เข้าไปแอบอิงพรรคก้าวไกล เพราะเปิดหน้าเชียร์แหลก

แต่การเป็นด้อมส้มกับทำตัวเป็นกูรู บางทีมันก็ไปกันไม่ได้ นายไพศาลเลยได้บทเรียน(หน้าแตก) กับตัวเองจากการโหวตนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ผ่านมา

เพราะขณะที่ใครต่อใคร มองว่ายากที่ ส.ว. จะยกมือให้พิธา แต่นายไพศาล เป็นคนเดียวที่เปิดประเด็นแบบสวนกระแส ระบุว่า ...ผู้มีอำนาจคุม ส.ว.ไว้ไม่ได้แล้ว ...

แต่โพสต์ของนายไพศาล ที่ทำเอาเขา 'สิ้นสภาพ' จากการเป็น 'กูรูการเมือง' ก็คือการฟันธงว่า นายพิธา จะชนะโหวตแบบม้วนเดียวจบ ในวันที่ 13 ก.ค.

แต่ผลจริงๆที่ออกมา เป็นตรงข้าม กลายเป็นนายพิธา โดนน็อกแบบม้วนเดียวจบ ..."

"นายไพศาลโพสต์ลงรายละเอียด ....เป็นคุ้งเป็นแควอย่างชัดเจนว่า เป็นมโนล้วนๆ เป็นความโลกสวยอย่างไม่น่าเชื่อของคนที่เชี่ยวการเมืองอย่างเขา

ยิ่งไปกว่านั้น นายไพศาลยังใช้สำนวนภาษาแนว 'ลิเก' แบบที่นายพิธา รวมถึงแกนนำคนอื่นๆของพรรคก้าวไกล ชอบใช้กันประจำ อีกต่างหาก

เรียกว่านายไพศาลออกตัวแรง ด้วยสำนวนภาษาให้รู้ว่า 'พวกเดียวกัน'

ความผิดพลาดในการเผยแพร่หลักคิดและข้อมูลคราวนี้ ส่งให้ไพศาลกลายเป็น 'กูรูทิพย์' ภายในพริบตา ตามพิธาที่เป็น 'นายกทิพย์'  

แสงอาทิตย์อัสดงของนายไพศาล ทำท่าจะดับวูบ
ซึ่งนายไพศาลควรทบทวนตัวเอง จะต้องเร้นกายปิดสำนักตัวเองล้างอายหรือไม่? ..."


อาจารย์ไพศาล (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2490) ที่ผมรู้จัก ตั้งแต่สมัยที่เราทั้งคู่เคยเป็น "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เพื่อต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" ในปี 2549  ...เขาเป็นกุนซือที่รอบรู้และปราดเปรื่องคนหนึ่งอย่างหาตัวจับยาก  

ในปี พ.ศ. 2549 ตอนนั้นอาจารย์ไพศาลมีอายุ 59 ปี น่าจะอยู่ในช่วงท็อปฟอร์มที่สุด ในฐานกุนซือ เช่นเดียวกับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล (เกิด 7 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2490) ซึ่งอยู่ในช่วงท็อปฟอร์มที่สุดเช่นกันในฐานะ "แกนนำพันธมิตรฯ" ในวัย 59 ปี

ตอนนั้นทั้งผมและอาจารย์ไพศาลต่างก็เป็นคอลัมนิสต์ของสื่อผู้จัดการเหมือนกัน จึงเข้าออกบ้านพระอาทิตย์ของคุณสนธิ บ่อยมากในช่วงสถานการณ์สู้รบ

ผ่านไปแล้ว 17 ปี  ปัจจุบันอาจารย์ไพศาลและคุณสนธิต่างก็มีอายุ 75 ปีย่าง 76 ปีเหมือนกัน ขณะที่คุณสนธิยังคงอยู่ใน"สภาวะท็อปฟอร์ม" ได้อย่างน่าทึ่งสำหรับคนวัยนี้  คือคุณสนธิยังมีมันสมองที่เฉียบแหลม และมีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  ...กาลเวลา 17 ปี ที่ผ่านไปทำอะไรคุณสนธิไม่ได้เลยจริงๆ

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสู่ "ขาลง" ของอาจารย์ไพศาล" ที่ผมนับถือนั้น ทำเอาผมใจหายและแทบไม่เชื่อสายตาตนเอง

เกิดอะไรขึ้นกับ "มันสมอง" ของ "กุนซือสมองเพชร" คนนี้?

เกิดอะไรขึ้นกับ "สภาพจิต" ของ "กูรูการเมือง" ผู้เป็นเจ้าสำนักกระบี่เดียวดายท่านนี้?

โดยส่วนตัว ผมสนใจประเด็นนี้เป็นพิเศษ

ผมมีคำถามในใจหลายข้อเกี่ยวกับ "ความย้อนแย้งในตัวตนปัจจุบัน" ของอาจารย์ไพศาล และพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองเพื่อใช้เป็นอุทราหรณ์สำหรับตัวเองในอีกสิบปีข้างหน้า

(1) "ทำไม คนที่ดำรงตำแหน่งอุปนายกและเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน อย่างอาจารย์ไพศาล ถึงกลายมาเป็น 'พ่อยก' ด้อมส้มตัวเอ้ของพรรคก้าวไกล ทั้งๆที่พรรคก้าวไกลมีท่าทีที่ชัดเจนว่า ต้านจีน?"

(2) "ทำไม คนที่เคยเขียนบทความเชียร์จีน ทางด้านความมั่นคง-การเมือง-เศรษฐกิจ และต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของอเมริกา มานานหลายสิบปีอย่างอาจารย์ไพศาล จึงออกตัวแรงสนับสนุนพรรคก้าวไกลเต็มที่ ทั้งที่พรรคก้าวไกลมีจุดยืนชัดเจนว่า ยืนอยู่ฝั่งอเมริกาและต้องการชักศึกเข้าบ้าน เพื่อต้านจีน?"

(3) "ทำไม คนที่เคยชูคำขวัญ "เราจะต่อสู้เพื่อในหลวง" สมัยยังเป็นพันธมิตรฯ อย่างอาจารย์ไพศาล ถึงกลับเปลี่ยนธาตุแปรสี กลายมาเป็นผู้สนับสนุน "การแก้ ม. 112" ของพรรคก้าวไกล ที่มุ่งล้มล้างการปกครองและล้มสถาบัน?"

ผมสงสัยกระทั่งว่า อาจารย์ไพศาลในฐานะ "ผู้ปฏิบัติธรรม" ได้เคย "แลเห็นจิต" , เคย "แลเห็นความคิด" ตัวเองจริงๆหรือไม่?

ทั้งๆ ที่ จิตและความคิดของอาจารย์ไพศาลได้เปลี่ยนแปลงจากแต่ก่อนชนิดสวิงอย่างสุดขั้วไปอีกฝั่งแล้ว

สำหรับผู้ฝึกจิต โมหะหรือความหลง เป็นสิ่งที่ต้องรู้ทันและระวังให้มาก

"อาการหิวแสง" หรือความต้องการได้รับความสนใจจากสื่อและผู้คนทุกๆวัน ของ "กุนซือชรา" หรือ "กูรูการเมืองชรา" ...แค่บ่งชี้ว่า สภาวะจิตของบุคคลผู้นั้น ยังไม่ได้บรรลุ "ความพอใจในตนเอง" จนเพียงพอ

จึงทำให้ จิตของผู้นั้น มิอาจเป็น บ่อน้ำที่สะท้อนจันทราบนท้องฟ้า (สภาวะจิตแบบ "จันทร์ในบ่อ" ของเซน) ที่เป็นสภาวะจิตกระจ่าง ได้ ... 

ทำให้ไม่อาจสะท้อน "ความจริงที่มีอยู่หนึ่งเดียว" ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงได้

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังเคารพอาจารย์ไพศาลอยู่เสมอ ในฐานะที่เขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจให้ผม เลือกเดินบนเส้นทาง "กุนซืออิสระ" หรือ "นักยุทธศาสตร์อิสระ" อย่างบูรณาการตั้งแต่ 19 ปีก่อน 

จนเป็นที่มาของหนังสือ "ภูมิปัญญามูซาชิ -วิถีแห่งนักกลยุทธ์เชิงบูรณาการ" (สำนักพิมพ์ openbooks, 2550) ...ของผมในเวลาต่อมา

‘ALMA’ เปิดตัว ‘Flagship School’ แห่งแรกในอาเซียน หวังเผยแพร่มรดกด้านวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียน

(17 ม.ค. 66) เวลา 13.50 น. ALMA - The School of Italian Culinary Arts สถาบันการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาหาร เครื่องดื่ม และด้านการบริการชั้นนำระดับโลก จากประเทศอิตาลี จัดงาน 'ALMA Culinary Arts Inauguration Ceremony' เพื่อเปิดตัว Flagship School แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเผยแพร่มรดกด้านวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียน ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลาย

นายเอ็นโซ มาลังกา ประธานและผู้บริหารสูงสุด ALMA กล่าวว่า เป้าหมายหลักของสถาบัน ALMA คือการเผยแพร่อาหารอิตาเลียนไปทั่วโลก และที่สำคัญตนรู้สึกว่าประเทศไทยมีวัฒนธรรมอาหารที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ตนจึงเล็งเห็นว่าประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำเสนอวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียน สู่สายตาผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทางสถาบัน ALMA ได้มีการส่งเชฟผู้สอนจากประเทศอิตาลี ไปยัง Flagship School ต่าง ๆ ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาในหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกับที่ ALMA Headquarters โดยผู้เรียนกว่า 1,000 คนทั่วโลกหลังจากจบการศึกษา จะมีองค์ความรู้ในด้านการประกอบอาหาร ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย รวมถึงสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่จานอาหารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้พร้อมสู่การเป็นเชฟอาหารอิตาเลียน, เชฟเบเกอรีและขนมอบสไตล์อิตาเลียนได้อย่างมืออาชีพ

‘โรม’ เรียกร้อง หยุดใช้ ม.112 เป็นเครื่องมือทางการเมือง พร้อมถามนายกฯ มีเหตุผลอะไรไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ พรรคก้าวไกล รังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีที่มีการแจ้งดำเนินคดีอาญาตาม มาตรา 112 ต่อบุคคลสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มฟลูเอนเซอร์ กรณีที่มีการโฆษณาสินค้าในแอปพลิเคชั่นลาซาด้า รวมกรณี ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการอดีตพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายนี้เป็นรายล่าสุด

รังสิมันต์ กล่าวว่า การตีความประกอบคดี โดยเฉพาะคดีตามมาตรา 112 ยิ่งจำเป็นต้องตีความอย่างเคร่งครัดและต้องชี้ให้ชัดว่ากรณีแบบไหนมีความผิด เพราะสิ่งที่บุคคลเหล่านี้แสดงออกหรือสะท้อนความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ ไม่มีทางเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 ได้เลย

“ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษคิดเกินเลยมาก ไปใช้จิตนาการมากกว่าพื้นฐานความเป็นจริง กรณีแบบนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำปัญหาของการใช้มาตรา 112 ที่ทำให้สังคมไทยอยู่ในความหวาดกลัว ซึ่งสังคมที่หวาดกลัวแบบนี้เป็นสังคมที่ไม่ก้าวหน้า ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์เพื่อนำพาประเทศให้ก้าวหน้าไปได้ และยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า การใช้กฎหมาย มาตรา 112 ในการดำเนินคดีโดยไม่ไตร่ตรองเช่นนี้ จะยิ่งทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกตั้งคำถามมากขึ้น”

รังสิมันต์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีของ ปิยบุตร ซึ่งเป็นนักวิชาการกฎหมายมาหลายสิบปี ไม่เคยถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 แต่เมื่อเข้าสู่แวดวงการเมืองกลับมีคดีติดตัว จึงเป็นข้อสังเกตว่า สรุปแล้วการดำเนินคดีตามมาตรา 112 เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองใช่หรือไม่ จึงอยากใช้โอกาสนี้ในการเตือนสติผู้มีอำนาจว่า หากปล่อยให้ใช้ มาตรา 112 แบบนี้ต่อไปจะไม่ยิ่งส่งผลดีต่อพระมหากษัตริย์ ขอวิงวอนให้หยุดใช้ มาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการจัดการผู้เห็นต่าง

ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีการใช้ มาตรา 112 ไปแล้ว 216 คดี ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยบนเวทีโลกมากมาย เพราะทุกครั้งที่มีวาระด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ประเทศไทยมักจะถูกตั้งคำถามถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ หากรัฐบาลมีหัวใจและมีความจริงใจจะบริหารประเทศจริงต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้

ส่อง! ‘การกินถิ่นภารตะ’ หมดยุค ‘เน้นฟิน’ หันกินเพื่อ ‘สุขภาพ’!!

พูดถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนอินเดีย ต้องขอบอกว่าสุดยอดมาก ๆ !!! เพราะรับประทานกันหนักทั้งปริมาณ หนักทั้งสิ่งที่ดูแล้วไม่ค่อยเป็นมิตรต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ คือ หนักทั้งแป้ง น้ำตาล และไขมัน แถมยังรับประทานกันค่อนข้างดึกอีกต่างหาก จนทำให้สงสัยว่าชาวอินเดียไม่สนใจเรื่องสุขภาพกันเลยหรือไร ? ทั้ง ๆ ที่คนอินเดียมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการรับประทานหลายโรคเลยทีเดียว…

แต่ว่าล่าสุดได้มีโอกาสอ่านรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดียก็พบข้อมูลที่น่าสนใจที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนอินเดียไปอย่างมากหลังจากมีการแพร่ระบาดขนานใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งปรากฏว่าคนอินเดียใน พ.ศ. นี้ได้เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตและรสนิยมการเลือกสรรอาหารกันใหม่แล้ว โดยผู้บริโภคอินเดียในปัจจุบันจะคำนึงถึงสิ่งที่รับประทานมากขึ้น และตระหนักว่าอาหารก็เป็นเสมือนยา 

โดยเชฟส่วนใหญ่และบล็อกเกอร์ด้านอาหาร มองว่าแนวโน้มน่าจะกลับไปสู่รากเหง้าของบรรพบุรุษเมื่อต้องเลือกบริโภคอาหาร ซึ่งหมายถึงการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสี ไม่แปรรูป และเป็นออร์แกนิก นอกจากนี้ คนอินเดียก็ยังมีแนวโน้มที่จะดื่มด่ำกับศิลปะการทำอาหารและการลิ้มลองอาหารต้นตำรับ ในขณะที่ให้ความสำคัญกับสารอาหารและแคลอรี รวมทั้งยังหันมาใส่ใจการทำอาหารเพื่อสุขภาพให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยเชฟชื่อดัง บล็อกเกอร์ด้านอาหาร และภัตตาคารชื่อดังได้อธิบายว่าทำไมอาหารอย่างเช่น ข้าวฟ่าง ถั่วเลนทิล คีนัว เมล็ดพืชและถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง จึงมีแนวโน้มที่มีการเพิ่มขึ้นในปีนี้ และยังกล่าวถึงการฟื้นคืนสูตรอาหารต้นตำรับในร้านอาหารท้องถิ่นและเทรนด์อาหารอื่น ๆ อีกด้วย

สำหรับแนวโน้มพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนอินเดียในปี 2565 เว็บไซต์ newindianexpress.com ได้นำเสนอไว้น่าสนใจมาก โดยเปิดเผยแนวโน้มใหม่ไว้ ดังนี้

>> อาหารโมเลกุล (Molecular Gastronomy)  
ที่ผ่านมา การทำอาหารของคนอินเดียล้วนแต่ใช้วิธีการหมักดอง หมัก รมควัน และแช่แข็ง แต่ปัจจุบันร้านอาหารและเชฟรุ่นใหม่ในอินเดียกำลังทดลองทำอาหารโมเลกุล (Molecular Gastronomy) ซึ่งคือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาหาร โดยมีเทคนิคการปรุงหรือการประกอบอาหารหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างอาหารรูปแบบแปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น การทำให้เกิดอิมัลชัน (การทำให้ของเหลวตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปซึ่งปกติจะไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันมารวมเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยไม่แยกชั้น) การทำให้เป็นทรงกลม การทำให้เกิดเจล การแยกโครงสร้าง และเทคนิคซูวี (sous vide แปลตรงตัวว่า “ภายใต้สุญญากาศ” เป็นวิธีการปรุงอาหารแบบหนึ่งที่มีการนำวัตถุดิบใส่ถุงสุญญากาศแล้วนำไปผ่านความร้อนในอ่างน้ำหรืออุปกรณ์ไอน้ำที่อุณหภูมิคงที่จนกว่าจะสุก: Wikipedia) เพื่อให้อาหารมีรสชาติ เนื้อสัมผัส และกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ Zubair Ali บล็อกเกอร์ด้านอาหารชื่อดังได้เสนอความเห็นว่า “การทดลองส่วนใหญ่กำลังดำเนินการในร้านอาหารใหม่ ๆ ที่พยายามสรรค์สร้างเมนูซิกเนเจอร์ของร้าน นอกจากนี้ ร้านอาหารที่มีการปรับปรุงเมนูอยู่เสมอก็กำลังทดลองเทคนิคเหล่านี้ด้วยเช่นกัน”

>> วิถีมังสวิรัติ (The Vegan Way)     
จริง ๆ อินเดียเป็นดินแดนแห่งมังสวิรัติอยู่แล้ว โดยประชากรอินเดียประมาณ 35% จะรับประทานอาหารมังสวิรัติแบบถาวร แต่จะมีผู้บริโภคที่รับประทานอาหารมังสวิรัติแบบเป็นครั้งคราวอีกจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารมังสวิรัติตามความเชื่อทางศาสนา อย่างเช่น ผู้ที่นับถือพระพิฆเนศจะรับประทานอาหารมังสวิรัติทุกวันอังคารซี่งเป็นวันเกิดของพระพิฆเนศ เป็นต้น เพราะฉะนั้นในทุก ๆ วันก็จะมีผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติแบบเป็นครั้งคราวรวมอยู่ด้วย เลยทำให้สัดส่วนของผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติในอินเดียในแต่ละวันอาจจะสูงถึง 40-50% ของจำนวนประชากรรวมก็ได้ 

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วอาหารมังสวิรัติในประเทศอินเดียจะเป็น Lacto Vegetarian หรือการบริโภคอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์และไข่ แต่สามารถบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมได้ ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลทำให้คนอินเดียหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและหันมารับประทานอาหารมังสวิรัติมากขึ้นอีก

>> กินเหมือนบรรพบุรุษของเรา (Eating like our ancestors) 
การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ไม่สิ้นสุด ทำให้ต้องมองกลับไปยังจุดเริ่มต้น นั่นคือการกลับไปสู่รากฐานของบรรพบุรุษนั่นเอง เมื่อมองไปที่ตลาดอาหารตอนนี้ก็จะเห็นว่าร้านอาหารต่าง ๆ มีความพยายามจะเป็นผู้นำทางด้านวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี โดยผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สด และอร่อย 

โดยล่าสุดเชฟชื่อดังอย่าง Chef Chalapathi ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า “ข้าวฟ่างจะได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างแน่นอน โดยรัฐบาลอินเดียได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งข้าวฟ่าง ซึ่งบรรพบุรุษของเรารู้ดีถึงประโยชน์ของธัญพืชเหล่านี้ เราสูญเสียความตระหนักรู้นี้ไปนานแล้ว แต่ตอนนี้เราจะฟื้นฟูมันกลับขึ้นมาอีกครั้ง และตอนนี้เทรนด์นี้ได้เข้าสู่เมืองไฮเดอราบัดแล้ว และกระแสนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง” 

อานิสงส์โควิด!! ดันอนาคตค้าปลีกออนไลน์ 'อินเดีย' พุ่ง โตก้าวกระโดด 3 เท่าในอีก 10 ปี

เกือบสองปีแล้วที่โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจการค้า วิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภค ฯลฯ จนถึงขั้นที่ธุรกิจมากมายต้องล้มหายตายจากไปและผู้คนก็รู้สึกสิ้นหวังไปตาม ๆ กัน แต่ว่าทุกวันนี้มุมมองของผู้คนทั่วโลกก็เริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยตั้งตาคอยว่าเมื่อไหร่โควิด-19 จะหมดไปจากโลกนี้เสียที ปัจจุบันก็เริ่มเปลี่ยนมาถามตัวเองว่านับแต่นี้ไปเราจะอยู่กับโควิด-19 กันอย่างไร เพราะดูแล้วโควิด-19 คงจะอยู่กับเราไปอีกนาน มนุษย์ต่างหากที่ต้องปรับตัวเองเพื่ออยู่กับโควิด-19 ให้ได้ตามวิถีปกติใหม่หรือ New Normal

ถ้าย้อนกลับไปดูตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วจะพบว่าอินเดียเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ผู้คนทั่วโลกจับตามองด้วยความเป็นห่วงเพราะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตรายวันเป็นจำนวนสูงมาก ถึงขนาดว่าเผาศพกันไม่ทันเลยทีเดียว แต่มาถึงวันนี้ก็พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศอินเดียกลับดีขึ้นมาก มาตรการที่เคยเข้มงวดต่าง ๆ ก็ได้รับการผ่อนคลาย และล่าสุดก็มีข่าวว่ารัฐบาลอินเดียกำลังจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 

จากการสอบถามพรรคพวกที่เป็นเจ้าของร้านอาหารที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ได้รับทราบว่าตอนนี้รัฐบาลอนุญาตให้ร้านอาหารเปิดบริการให้ลูกค้าเข้าไปรับประทานที่ร้านได้แล้วจนถึง 4 ทุ่ม และร้านอาหารทุกร้านต่างก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มียอดขายดีกว่าช่วงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกต่างหาก เพราะคนอินเดียนิยมออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านอยู่แล้ว โดยตอนนี้ทางสมาคมที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารในอินเดียกำลังต่อรองกับรัฐบาลเพื่อขอขยายเวลาปิดร้านจาก 4 ทุ่มเป็นถึงเที่ยงคืน เนื่องจากว่าผู้บริโภคชาวอินเดียโดยธรรมชาติและความเคยชินมักจะรับประทานอาหารค่ำค่อนข้างดึก การที่ร้านอาหารต้องปิดร้านแค่ 4 ทุ่มตามระเบียบของราชการจึงกลายเป็นปัจจัยกดดันให้คนอินเดียต้องรับประทานอาหารค่ำเร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถ้าสมาคมฯ สามารถเจรจาให้เปิดร้านอาหารได้จนถึงเที่ยงคืนก็จะยิ่งทำให้ขายดีมากยิ่งขึ้นเพราะร้านอาหารจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างน้อยสองรอบ ช่วงนี้ก็เลยต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลอินเดียก่อนว่าจะโอนอ่อนผ่อนตามตามเสียงเรียกร้องของผู้ประกอบการร้านอาหารหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ร้านอาหารกลับมาขายดิบขายดีแบบคาดไม่ถึง แต่ถ้าไปส่องดูที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าต่าง ๆ ก็พบว่า “เงียบเป็นป่าช้า” เพราะผู้บริโภคยังไม่กล้าเข้าไปเดินชอปปิงสักเท่าไหร่ มาวิเคราะห์ดูแล้วก็จะพบว่าสาเหตุสำคัญก็คือ ผู้บริโภคชาวอินเดียมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นนั่นก็คือ การชอปปิงผ่านระบบออนไลน์นั่นเอง โดยในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมาผู้บริโภคชาวอินเดียเคยชินกับการชอปปิงออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพฤติกรรมการชอปปิงออนไลน์นี้เองที่ส่งผลทำให้โครงสร้างตลาดค้าปลีกในอินเดียเปลี่ยนไปด้วย

เมื่อตอนที่ผมไปประจำการอยู่ที่อินเดียครั้งแรกเมื่อปี 2554 พบว่าในตลาดค้าปลีกของอินเดียจะประกอบไปด้วยธุรกิจค้าปลีกอยู่สองประเภทหลักคือ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Retailing/Unorganized Retailing) หรือ “Kirana” ถ้าเรียกภาษาบ้าน ๆ แบบประเทศไทยก็คือ “ร้านโชห่วย” นั่นเอง โดยร้านโชห่วยประเภทนี้มีสัดส่วนสูงถึง 95% ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกอีกประเภทหนึ่งคือ ธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade Retailing/Organized Retailing) มีสัดส่วนอยู่แค่เพียง 5% แต่ถัดมาอีกประมาณ 4 ปีคือ ในปี 2558 ก็พบว่าสัดส่วนในตลาดค้าปลีกของอินเดียก็เริ่มเปลี่ยนไป โดยร้านโชห่วยมีสัดส่วนลดลงเหลือ 92% และร้านค้าปลีกแบบสมัยใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 8% 

เมื่อแม่น้ำ “อุมโงท” เสน่ห์วารีแห่งแดนภารตะ​ (รัฐเมฆาลัย)​ อาจสูญสลาย!! เพราะ​ 'เขื่อน'​

แม้ว่าจะย้ายกลับมาอยู่ประเทศไทยหลายปีแล้ว แต่ผมก็ยังคงติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอินเดียอยู่เสมอด้วยความสนใจ หรืออาจจะเป็นเพราะหลงมนต์เสน่ห์แดนภารตะเข้าไปแล้วอย่างจังก็เป็นได้ 

โดยล่าสุดผมเพิ่งได้อ่านข่าวจากนิตยสาร Northeast Today ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ก็เลยได้ทราบว่ารัฐบาลแห่งรัฐเมฆาลัยมีโครงการที่จะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำอุมโงท (Umngot River) เพื่อจะผลิตกระแสไฟฟ้าระดับ 210 เมกกะวัตต์ เพื่อให้รัฐเมฆาลัยมีกระแสไฟฟ้าเพียงพอ อ่านข่าวแล้วก็รู้สึกตกใจเพราะแม่น้ำสายนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรายได้สำคัญของประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เนื่องจากน้ำในแม่น้ำสายนี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนแม่น้ำไหน ๆ นั่นคือมีความใสสะอาดเหมือนแก้วเจียระไน บางคนก็บอกว่าใสเหมือนคริสตัล สามารถมองทะลุเห็นพื้นด้านล่างของแม่น้ำเลย ยิ่งถ้ามองมาจากริมฝั่งหรือที่สูงก็จะเห็นเรือในแม่น้ำที่เหมือนลอยอยู่ในอากาศเลยทีเดียว

แต่เท่าที่ทราบตอนนี้มีชาวบ้านจาก 12 หมู่บ้านที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำในแถบเทือกเขาเจนเทียตะวันออก (East Jaintia Hills) ก็ออกมาประท้วงขอให้รัฐบาลแห่งรัฐเมฆาลัยยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนเพราะชาวบ้านเชื่อว่าถ้าหากสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำนี้แล้วจะทำให้แม่น้ำอุมโงท (Umngot) แสนสวย และมีชื่อเสียงโด่งดังนี้ถูกทำลาย และในที่สุดก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวอีกต่อไป และท้ายที่สุดรายได้จากการท่องเที่ยวที่ชาวบ้านเหล่านี้เคยได้รับและเป็นแหล่งรายได้สำคัญก็จะหายไปด้วย และคนที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำนั่นเอง

ที่ชาวบ้านต้องออกมาโวยวายและต่อต้านก็เพราะพวกเขามองว่ารัฐบาลแห่งรัฐไม่เคยมารับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน แถมสื่อกระแสหลักในประเทศอินเดียก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะลงข่าวหรือช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ชาวบ้านเลย ตอนนี้ที่ทำได้ก็แค่ออกมารวมตัวประท้วงรัฐบาลแห่งรัฐกันเท่านั้นเอง ในขณะที่ Meghalaya Energy Corporation Limited (MeECL) เจ้าของโครงการก็ออกมาชี้แจงว่าโครงการสร้างเขื่อนนี้ก็เพื่อที่จะลดช่องว่างระหว่างดีมานด์กับซัพพลายของกระแสไฟฟ้าในรัฐ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องการทำให้ความต้องการกระแสไฟฟ้ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่มีช่องว่างมากเกินไปหรือมีสมดุลมากขึ้น 

นอกจากนี้ก็ยังมีเป้าหมายที่จะทำให้สัดส่วนระหว่างปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำมีความสมดุลกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานความร้อนและถ่านหิน แถมยังบอกอีกว่าชาวบ้านจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมอย่างมากจากโครงการนี้ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยการมอบเงินชดเชยให้และมีแผนในการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมแผนฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้กับชาวบ้านด้วย

แต่ถ้ามาฟังทางฝั่งชาวบ้านแล้วก็น่าเห็นใจ เพราะแน่นอนว่าแหล่งท่องเที่ยวที่มหัศจรรย์นี้จะต้องสูญหายไปพร้อมกับรายได้หลักที่ได้จากการท่องเที่ยว แต่ที่ชาวบ้านหวั่นวิตกกังวลมากกว่าก็คือจะมีพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนจมอยู่ใต้น้ำจากโครงการสร้างเขื่อนนี้ และที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านรู้สึกว่าภาครัฐไม่เคยให้ความสำคัญที่จะรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชาวบ้าน รวมทั้งไม่เคยเหลียวแล และไม่เคยใยดีกับผลกระทบเชิงลบต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่จะเกิดขึ้น 

แต่ประเด็นขัดแย้งนี้คงยังไม่จบง่าย ๆ เพราะว่าในปัจจุบันนี้ เราคงยังหาจุดสมดุลระหว่าง “การพัฒนา” กับ “ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม” ไม่ได้ลงตัว แต่โดยส่วนตัวในฐานะนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบอินเดียก็ไม่อยากให้ “การพัฒนา” ไปทำลาย “สิ่งแวดล้อม” ที่สวยงามและโดดเด่นอย่างแม่น้ำอุมโงทที่จะหาแม่น้ำอื่นใดในโลกนี้มาเทียบได้

ผมลุกขึ้นมาเขียนเรื่องนี้ด้วยความเป็นห่วงและเสียดายแม่น้ำแสนสวยสายนี้จริง ๆ เพราะจุดเริ่มต้นของความสนใจใน “รัฐเมฆาลัย” ของผมก็เริ่มมาจากที่ได้เห็นรูปแม่น้ำอุมโงทนี่แหละ แถมมาเห็นเอาเมื่อตอนย้ายกลับมาอยู่ประเทศไทยแล้วอีกต่างหาก ทำให้ต้องดั้นด้นเดินทางจากประเทศไทยไปเยือนแม่น้ำสายนี้และกว่าจะได้ชมโฉมก็ต้องไปถึงสองครั้งเพราะครั้งแรกผมเดินทางไปในช่วงปลายฤดูฝน โดยผู้นำทางบอกว่าฤดูฝนไม่เหมาะสำหรับการไปล่องเรือในแม่น้ำอุมโงท เพราะฝนจะชะดินจากริมฝั่งลงไปในแม่น้ำทำให้น้ำขุ่น เพราะฉะนั้นการเดินทางไปรอบแรกก็เลยไม่ได้ไปเยือนแม่น้ำสายนี้ ก็เลยต้องกลับไปอีกรอบหนึ่งในช่วงฤดูหนาวประมาณปลายปี ซึ่งนอกจากจะไม่มีฝนแล้วแถมอากาศยังเย็นสบายอีกด้วย และการเดินทางไปรอบที่สองก็สมใจ ได้ชื่นชมแม่น้ำแสนสวยสายนี้แบบเต็มอิ่มด้วยการใช้บริการเรือพายของชาวบ้านที่มีให้บริการอยู่ริมแม่น้ำ ได้เห็นน้ำที่ใสเหมือนแก้วด้วยตาตัวเองและได้สัมผัสด้วยมือตัวเองระหว่างที่อยู่บนเรือพายด้วย

สำหรับ “รัฐเมฆาลัย” เป็นรัฐหนึ่งในรัฐเจ็ดสาวน้อยและหนึ่งน้องชาย (Seven Sisters States and One Brother State) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เขตแดนทางตะวันออกและทางเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐอัสสัม และมีชายแดนติดต่อกับประเทศบังกลาเทศในทางทิศใต้และทิศตะวันตก โดยรัฐเมฆาลัยมีพื้นที่ทั้งหมด 22,429 ตารางกิโลเมตร โดยมีเทือกเขากาสีเป็นเทือกเขาแบ่งเขตแดนจากทางตอนกลางไปจนถึงทางตะวันออกของรัฐ ลาดเอียงสู่หุบเขาพรหมบุตรทางตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้เป็นที่ราบติดกับประเทศบังกลาเทศ ทั้งนี้ ความหมายของคำว่า “เมฆาลัย” ก็คือ “บ้านของเมฆ” นั่นเอง เพราะพื้นที่ของรัฐเมฆาลัยจะเป็นเขตพื้นที่ภูเขาสูงเกือบทั้งหมด

การเดินทางก็ไม่ลำบากเท่าไหร่ ปกติผมจะบินไปลงที่เมืองกอลกัตตา เมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตกใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วต่อเครื่องบินไปลงที่เมืองกูวาฮาติ เมืองหลวงของรัฐอัสสัม หลังจากนั้นก็นั่งรถต่อไปจนถึงเมืองชิลลอง เมืองหลวงของรัฐเมฆาลัย ใช้เวลานั่งรถประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งก็ถึงแล้ว พักที่เมืองชิลลองหนึ่งคืนแล้วค่อยเดินทางต่อไปเมืองดอกี (Dawki) เพื่อไปเยี่ยมชมแม่น้ำอุมโงท ก็ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเพราะสภาพถนนยังไม่ดีมากทำให้รถวิ่งได้ช้า แต่เมื่อถึงจุดหมายปลายทางและได้เห็นน้ำใส ๆ ในแม่น้ำอุมโงทแล้วก็หายเหนื่อย

ก็หวังว่าเมื่อหมดโควิด-19 แล้ว แม่น้ำอุมโงทแสนสวยจะยังคงอยู่รอให้นักท่องเที่ยวคนไทยได้มีโอกาสไปเยือนและชื่นชมความงดงามอยู่ตลอดไปนะครับ


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สวนกระแสโลก!! เมื่ออินเดีย เพาะพันธุ์ 'ยูนิคอร์น' ไล่กวด 'สหรัฐฯ-จีน' ภายใต้ 'คนเก่ง - รัฐเร่ง Go - โควิดหนุน'

เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยมีข่าวใหญ่ในแวดวงธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นที่กล่าวขวัญและฮือฮาที่สุด นั่นก็คือ กรณีที่กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชสัญชาติไทยแบบครบวงจรที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักบริษัทในเครือคือ แฟลชเอ็กซ์เพรส (Flash Express) ได้รับเงินระดมทุนล่าสุดซึ่งเป็นการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ เป็นเงิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจแฟลชขึ้นแท่นเป็นสตาร์ทอัพไทยรายแรกที่ไต่สู่ระดับ “ยูนิคอร์น (Unicorn)” ด้วยมูลค่าธุรกิจมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปีเท่านั้น

แต่ว่าในช่วงไล่เลี่ยกันที่ประเทศอินเดียที่คนส่วนใหญ่อาจจะคาดไม่ถึง ปรากฏว่าแค่ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง กลับมีการแจ้งเกิดของ “ยูนิคอร์น” รายใหม่มากถึง 11 บริษัท ส่งผลทำให้ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 อินเดียมีบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับ “ยูนิคอร์น” รวมทั้งสิ้นจำนวนมากถึง 48 บริษัท มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่มีจำนวน 288 บริษัทและประเทศจีนที่มีจำนวน 133 บริษัท ตามลำดับ


สำหรับผู้ที่รู้จักประเทศอินเดียดีก็จะไม่รู้สึกแปลกใจกับการที่อินเดียติดอันดับ 3 ของโลกที่มีจำนวน “ยูนิคอร์น” มากที่สุดถึง 48 บริษัทและมี “ยูนิคอร์น” เกิดใหม่ถึง 11 บริษัทภายใน 6 เดือนแรกของปี 2564 หรือโดยเฉลี่ยมี “ยูนิคอร์น” เกิดใหม่ในอินเดียเกือบ 2 บริษัทต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งความสำเร็จนี้ไม่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือได้มาง่าย ๆ เพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่เป็นผลมาจากการทำงานหนักของทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของท่านนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรค BJP (Bharatiya Janata Party) ตั้งแต่ในสมัยแรกที่เข้ามาบริหารประเทศ  (ปัจจุบันเป็นสมัยที่สอง) ที่มีการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนประเทศอินเดียให้เป็น “อินเดียใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย “Digital India” ที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพของประเทศในระยะยาวที่ยั่งยืนรวมทั้งเป็นการสร้างแบรนด์ India ไปทั่วโลกด้วย

สำหรับคำว่า “ยูนิคอร์น” (Unicorn) ซึ่งหมายถึงสัตว์ในตำนานของยุโรปที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่สามารถระดมทุนได้เกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ก็เพราะการที่ธุรกิจสตาร์ทอัพจะสามารถระดมทุนได้สูงขนาดนี้ถือเป็นสิ่งที่ยากมา ถ้าหากทำได้ก็จะกลายเป็น “ตำนาน” เช่นเดียวกับ “ยูนิคอร์น” นั่นเอง ทั้งนี้ ทางฝั่งอินเดียเองก็พบว่ามีสัตว์ประเภทนี้อยู่ในตำนานโบราณของอินเดียด้วยเช่นกัน ซึ่งในภาษาฮินดีซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตจะเรียกสัตว์ในตำนานนี้ว่า “Ekshringa” ซึ่งน่าสนใจมาก ผมเลยสอบถามไปที่กัลยาณมิตรทางด้านอินเดียของผมคือ อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮินดี แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่ Northeastern Hill University ที่เมืองชิลลอง รัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย โดยท่านได้กรุณาให้คำอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า คำว่า Ekshringa หรือ “เอกศฤงค์” (อ่านว่า เอก-สะ-ริง) แยกออกได้เป็นคำว่า Eka หรือ “เอกะ” แปลว่า หนึ่ง ส่วนคำว่า Shringa หรือ “ศฤงคะ” แปลว่า เขาสัตว์ เพราะฉะนั้น คำว่า Ekshringa หรือ เอกศฤงค์ จึงแปลว่า “ผู้มีเขาเดียว” นั่นก็คือ “ยูนิคอร์น” นั่นเอง

จากข้อมูลของ India Today ฉบับประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 พบว่านอกจากยูนิคอร์นของอินเดียจะมีจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ของโลกแล้ว ปรากฏว่าธุรกิจสตาร์ทอัพของอินเดียที่เป็น Tech Start-Ups ก็มีจำนวนอยู่ที่อันดับ 3 ของโลกด้วยเช่นกันด้วยจำนวนมากกว่า 12,500 ราย แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เฉพาะในปี 2563 (ค.ศ. 2020) แค่ปีเดียวซึ่งเป็นปีแห่งวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนักหนาสาหัสที่สุดของทั้งโลกโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย แต่ปรากฏว่าจำนวน Tech Start-Ups ในอินเดียกลับเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1,600 รายภายใน 1 ปี สวนกระแสวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าทุกวิกฤติย่อมนำมาซึ่งโอกาสดี ๆ เสมอ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นเติบโตอย่างมากในอินเดียหรือในโลกในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง อย่างบริษัท Razorpay ซึ่งเป็น Payment Gateway ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ปัจจุบันก็มีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออย่างบริษัท Swiggy ซึ่งเป็น Food Delivery Platform ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 เช่นกัน ปัจจุบันก็มีมูลค่าสูงถึง 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

นอกจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดโอกาสสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นในอินเดียแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ อัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ของประชากรอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการพัฒนาความเร็วในการสื่อสารหรือการถ่ายโอนข้อมูล รวมทั้งการเชื่อมต่อของระบบอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจากรายงานของสมาคมอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่แห่งอินเดีย (Internet and Mobile Association of India หรือ IAMAI) เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาพบว่า 43% ของประชากรอินเดียหรือคิดเป็นจำนวนประชากรอินเดียประมาณ 622 ล้านคนเป็นผู้ที่ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ต (Active Internet Users) อยู่ในปัจจุบัน โดยอัตราการขยายตัวของการใช้อินเตอร์เน็ตในพื้นที่เขตชนบทสูงกว่าพื้นที่ในเขตเมือง ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าวเปิดเผยว่าในปี 2563 อัตราการใช้อินเตอร์เน็ตในพื้นที่เขตชนบทของอินเดียเพิ่มขึ้นถึง 13% ในขณะที่ในพื้นที่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นเพียง 4% เท่านั้น โดยการใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ทั้งในพื้นที่ในเขตชนบทและในพื้นที่ในเขตเมืองจะใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนเป็นหลัก นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาร่วมระหว่าง ICEA (Indian Cellular and Electronics Association) กับบริษัทที่ปรึกษา KPMG เมื่อปีที่แล้วพบว่า ภายในอีก 2 ปีข้างหน้าอินเดียจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนจำนวน 820 ล้านคน ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดผลดีต่อบรรดาบริษัท Tech Start-Ups และยูนิคอร์นของอินเดียอย่างแน่นอน และจะยิ่งส่งผลให้เกิดบริษัท Tech Start-Ups และยูนิคอร์นในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของ Tech Start-Ups และยูนิคอร์นจำนวนมากในอินเดียมิได้เป็นผลมาจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 เท่านั้นเพราะวิกฤติเป็นเพียงปัจจัยเสริมปลายน้ำ แต่พื้นฐานที่สำคัญที่สุดก็คือ การเกิดขึ้นของบริษัททางด้าน Info-Tech ชั้นดีของอินเดียในช่วงทศวรรษที่ 1990 อย่างเช่นบริษัท Infosys และบริษัท TCS (Tata Consultancy Services) เป็นต้น พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Hub) ที่เมืองบังกาลอร์ (หรือเบงกาลูรูในปัจจุบัน) และมาได้พลังเสริมจากนโยบายของรัฐบาลของท่านนเรนทรา โมดีตั้งแต่สมัยแรกที่มีความชัดเจนในเรื่องของดิจิตอล ซึ่งทั้งหมดเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของอินเดียที่มีความฝันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นยูนิคอร์นที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญสองเหตุการณ์ที่ส่งผลมาถึงการเจริญเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน โดยจุดเปลี่ยนแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องลดจำนวนพนักงานลงจำนวนมาก โดยในอดีตที่ผ่านมาบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เหล่านี้มักจะจ้างคนอินเดียที่เก่ง ๆ และฉลาด ๆ ไปทำงานอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อต้องเลิกการจ้างงานก็เลยทำให้เกิดปรากฏการณ์สมองไหลกลับหรือ Brain Drain ของคนอินเดียที่เก่ง ๆ และฉลาด ๆ เหล่านี้ที่เดินทางกลับไปแสวงหาโอกาสในบ้านเกิด ทำให้เกิดธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกขึ้นที่เมืองบังกาลอร์จำนวนมาก ส่วนจุดเปลี่ยนที่สองที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันคือ การพัฒนาและขยายระบบอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2553 มาจนถึงปัจจุบันซึ่งส่งผลทำให้เกิดการขยายต้วของธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นในอัตราสูงในปัจจุบัน

            สำหรับยูนิคอร์นของอินเดียจำนวน 48 บริษัทส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจด้าน Fintech ด้านบริการซอฟท์แวร์ (Saas: Software as a Service) และ E-Commerce แต่ทั้ง 48 บริษัทมีมูลค่าบริษัทรวมกันสูงถึง 139,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4.47 ล้านล้านบาท

เห็นจำนวนยูนิคอร์นของอินเดียและมูลค่าบริษัทแล้วก็ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียว แต่อินเดียมีเรื่องให้อึ้งมากกว่านี้ ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่าจากจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 12,500 บริษัท อินเดียมียูนิคอร์นที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึง 48 บริษัทมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและจีน แต่อินเดียยังเหนือชั้นกว่านี้อีกเพราะในปัจจุบันอินเดียมีธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เรียกกันว่า “Decacorn” ถึง 3 บริษัทซึ่งได้แก่ บริษัท PayTM  บริษัท OYO และล่าสุดหมาดๆคือ บริษัท Byju ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพทางด้าน Edtech ชื่อดังของอินเดียที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นเป็น 16,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้ Byju กลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกไปเรียบร้อยแล้ว

มาถึงจุดนี้ ผมคิดว่าเราคงต้องหันมา “มองอินเดียใหม่” กันแล้วครับ !!

 

จับกระแส “กัญชง” ในดงอินเดีย โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

ปัจจุบันกระแสกัญชงกับกัญชาในไทยกำลังมาแรงมากจากกระแสการผลักดันกัญชาให้ถูกกฎหมายทั้งในด้านการครอบครอง การปลูก และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หลายคนอาจจะยังสับสนว่า “กัญชง” กับ “กัญชา” เหมือนหรือต่างกันยังไง ผมเลยไปสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตก็พบความกระจ่างในเพจ “ทันข่าว Today” ซึ่งระบุว่า ทั้งกัญชาและกัญชงเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้คือ กัญชงมีใบแคบเรียวและสีเขียวอ่อนกว่า มีลำต้นสูงและแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่ากัญชา จึงมีการนำกัญชงไปใช้เป็นพืชเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้าและเยื่อกระดาษ

แต่ถ้าต้องการจำแนกให้ลึกลงไป เพจดังกล่าวก็ให้พิจารณาจากสารประกอบที่เรียกว่าแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นั่นคือ THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) และสารสำคัญอีกชนิดคือ CBD (Cannabidiol) ซึ่งช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของ THC ถ้าต้นที่มีสาร THC น้อยกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น Hemp หรือกัญชง แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือว่าเป็น Marijuana หรือกัญชา กรณีใช้ทางการแพทย์ต้องสกัดสาร THC, CBD รวมถึงสารประกอบแคนนาบินอยด์อื่น ๆ ออกมาจากต้น ซึ่งแตกต่างจากการเสพกัญชาที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยตรง

สำหรับที่อินเดีย มีรายงานที่น่าสนใจจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย ระบุว่า กระแสที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือ “กัญชง” แต่ว่าการแปรรูปกัญชง (Hemp / Cannabis Sativa) เชิงอุตสาหกรรมในอินเดียยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี คนอินเดียมีความคุ้นเคยกับการใช้ประโยชน์จากกัญชงมาตั้งแต่โบราณ โดยนำกัญชงมาเป็นส่วนหนึ่งของสมุนไพรแบบอายุรเวท (Ayurveda) และเครื่องเทศประกอบอาหาร รวมถึงเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้า กระเป๋าและเชือกด้วย ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้มีส่วนทำให้ภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิจัยของอินเดียเข้าใจในศักยภาพของกัญชงเป็นอย่างดี และตระหนักในการควบคุมผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กัญชงมีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับในตลาดได้ง่าย

จากรายงานของ Grand View Research ระบุว่าในปัจจุบันตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียยังมีมูลค่าเป็นสัดส่วนเพียง 0.1% ของตลาดโลกเท่านั้น ในขณะที่ การใช้/บริโภคในอินเดียจะขยายตัวได้อีกมาก ทั้งการนำกัญชงไปใช้ในการผลิตน้ำมัน อาหารและเครื่องดื่ม อาหารสัตว์ เส้นใยสำหรับเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ของใช้สำหรับทำความสะอาด ปุ๋ย และวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ กระดาษรีไซเคิล วัสดุเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง รวมถึงพลังงานชีวมวล นอกเหนือจากการนำมาผลิตเพื่อใช้ในทางการแพทย์ อาทิ ยาบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ และอาการเจ็บปวดเรื้อรังต่าง ๆ นอกจากนี้ คาดว่าภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทำให้คนอินเดียหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติมากขึ้น ซึ่งเมล็ดกัญชงจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วและเนื้อสัตว์ โดยปราศจากกลูเตน และมักจะเป็นการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ด้วย เพราะกัญชงเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีศัตรูพืช จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง 

ผลิตภัณฑ์จากกัญชง

ขอบคุณภาพจาก : https://medium.com

ทั้งนี้ ผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ (IFPMA) และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) ประมาณการณ์ว่า ในปี 2567 ตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียจะมีมูลค่าประมาณ 584.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สอดคล้องกับผลการสำรวจของ All India Institutes of Medical Sciences ที่พบว่าผู้บริโภคชาวอินเดียจะตอบรับต่อผลิตภัณฑ์กัญชงได้อย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีคนอินเดียจำนวนไม่น้อยกว่า 7.2 ล้านคนที่เคยใช้กัญชงมาแล้ว โดยการซื้อมาทดลองใช้เอง และมีราคาขายปลีกในอินเดียอยู่ที่ประมาณ 4.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกรัม

ตาม พรบ. The Narcotic Drugs and Psychotropic Substances Act (1985) รัฐบาลกลางของอินเดียอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้เฉพาะที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลหรือ THC ไม่เกิน 0.3 % โดยน้ำหนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกัญชงในอินเดียส่วนใหญ่มีระดับสาร THC สูงกว่าที่กำหนดไว้ การผลิตและซื้อ-ขายกัญชงในอินเดีย จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมายตาม พรบ. ดังกล่าวอยู่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐให้สามารถพิจารณาอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์จากใบและเมล็ดของกัญชงได้ ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบและส่งเสริมโดยกระทรวงการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย (Ministry of Ayurveda, Yoga & Naturopathy: AYUSH) เป็นระยะ

ในปัจจุบันมีเพียงสามรัฐในอินเดียที่อนุญาตให้มีการปลูกกัญชงได้ ได้แก่ รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐมัธยประเทศ ส่วนรัฐอื่น ๆ อีกหลายรัฐก็มีแนวโน้มจะอนุญาตให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงเช่นกัน อาทิ รัฐมณีปุระ รัฐอานธระประเทศ และรัฐหิมาจัลประเทศ โดยรัฐอุตตราขัณฑ์เป็นรัฐแรกที่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกได้ โดยได้ให้ใบอนุญาตแก่ Indian Industrial Hemp Association (IIHA) ซึ่งเป็น NGO สามารถเพาะปลูกเพื่อทำการทดลองในพื้นที่ 6,250 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายเป็น 62,500 ไร่ และมุ่งเน้นการผลิตเมล็ดพันธุ์ และนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยสำหรับป็นสิ่งทอเป็นหลัก

แม้ว่าจะมีการเพาะปลูกในไม่กี่รัฐ แต่มีผู้นำกัญชงมาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วภายใต้กิจการของสตาร์ทอัพประมาณ 30-40 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ (Biotech Startups) อาทิ บริษัท Bombay Hemp Company (BOHECO) โดยมีโรงงานแปรรูปอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์ (เมือง Almora) และในรัฐอุตตรประเทศ (เมือง Lucknow) นอกจากนี้ ยังมี Startups อีกหลายรายที่พร้อมจะผลิตเชิงอุตสาหกรรม และขยายตลาดทั้งภายในอินเดียและตลาดโลก อาทิ Hemp Street, Best Weed และ India Hemp Organics โดยมีแบรนด์หลักในตลาด ได้แก่ VEDI, SATLIVA, BOHECO Life และ B LABEL

ขอบคุณภาพจาก : https://www.vice.com

ทั้งนี้ การผลิตสินค้าจากกัญชงในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตในปี 2564 จากการที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยและมาตรฐานทางอาหาร (The Food Safety and Security Authority of India : FSSAI) ของอินเดียซึ่งเทียบได้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ได้จัดทำร่างกฎระเบียบสำหรับการกำกับดูแลสินค้าที่นำกัญชงมาผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ The Food Safety and Standards (Food Products Standards and Food Additives) Amendment Regulations, 2020 ซึ่งผู้ประกอบการในอินเดียมองว่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนและเป็นสัญญาณที่เปิดให้สินค้ากัญชงมีการแข่งขันกันอย่างเสรีในตลาด โดย FSSAI ได้ยอมรับว่ากัญชงเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ซึ่งล่าสุดได้มีการกำหนดว่าเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกัญชงต้องมี THC ไม่เกิน 0.2mg/kg โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดการเตรียมการผลิตเครื่องดื่มกัญชงและสถานบริการเครื่องดื่มกัญชงตามมาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม คุณสุพัตรา แสวงศรี ทูตพาณิชย์ไทยประจำนครมุมไบ ประเทศอินเดียได้ให้ความเห็นว่าการเพาะปลูกและการแปรรูปในอินเดียยังต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอีกไม่ต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่สินค้าจากต่างชาติจะเข้าไปแทรกตลาดหากมีราคาที่เทียบเคียงได้กับจีน ทั้งนี้ อินเดียเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับกัญชงในอัตรา 30% โดยผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตให้นำเข้าไปเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ด้วย ดังนั้น โอกาสที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย จึงน่าจะเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในการแปรรูปกัญชงเพื่อการแพทย์และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีสภาพอากาศเหมาะสมและเกษตรกรมีทักษะในการปลูกที่ดี รวมถึงโอกาสจากการเข้าไปถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนให้กับ Tech-Startups ของอินเดียที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อรองรับการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อภาครัฐของอินเดีย (FSSAI) มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าจากกัญชงที่ชัดเจนแล้ว ในขณะที่ ผู้บริโภคในอินเดียเองก็มีความคุ้นเคยกับกัญชงอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเอื้อให้เกิดการตอบรับของตลาดได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย

ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยหรือนักลงทุนไทยที่สนใจธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ที่ประเทศอินเดียที่เป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากประเทศจีน

ขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างปรแทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย


เขียนโดย: อดุลย์ โชตินิสากรณ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญการค้าในอินเดียแบบเจาะลึก

สินค้า FMCG หรือ Fast-Moving Consumer Goods “โอกาส” ในตลาดชนบทอินเดีย

คนทั่วไปมักจะมองว่าอินเดียมีแต่ผู้คนที่ยากจนไม่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบท ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริโภคอินเดียในเขตชนบทย่อมมีกำลังซื้อต่ำกว่าคนในเขตเมือง แต่ถ้าคิดให้ดีจะพบว่าไม่ว่าคนรวยหรือคนจน ยังไงๆ ก็ต้องกินต้องใช้สินค้าที่จำเป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งก็คือสินค้าอุปโภคบริโภคที่นิยมเรียกกันว่า FMCG หรือ Fast-Moving Consumer Goods นั่นเอง โดย FMCG จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายได้เร็วเพราะคนทั่วไปต้องใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

ที่สำคัญก็คือ แนวโน้มการบริโภคสินค้า FMCG ในเขตชนบทของอินเดียกลับมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดชนบทอินเดียประกอบไปด้วยหมู่บ้านประมาณ 650,000 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 850 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมดของอินเดียและมีสัดส่วนของ GDP อยู่ที่ประมาณ 50% ของ GDP รวมทั้งประเทศ

และด้วยแนวโน้มการขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ก็เลยส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทจําหน่ายสินค้า FMCG  หลายบริษัทในอินเดียกลับมาบุกตลาดชนบทอินเดียอีกครั้ง โดยคาดการณ์ว่าผู้บริโภคในชนบทจะเลือกซื้อสินค้าที่มีแบรนด์แทนสินค้าขายปลีกที่ไม่มีแบรนด์ ซึ่งถือเป็นโอกาสของบริษัทเหล่านี้ในการผลักดันผลิตภัณฑ์อาทิ สบู่ แชมพู บิสกิต เครื่องดื่ม และอาหารแปรรูปในบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าอาจจะต้องตั้งราคาต่ำกว่าก็ตาม โดยอุปสงค์ในสินค้า FMCG จากตลาดชนบทเติบโตเร็วกว่าจากตลาดในเมืองมาหลายไตรมาสแล้ว และคาดว่าอุปสงค์ในเมืองเล็กและเขตชนบทจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Nestle India วางแผนที่จะขยายการเข้าถึงผู้บริโภคในเขตชนบทเพิ่มขึ้น 120,000 หมู่บ้านภายในปี 2567 โดย Nestle India พยายามที่จะขยายตลาดไปยังเขตชนบทมาหลายปีแล้ว โดยในปี 2560 สินค้าของบริษัทฯ วางจําหน่ายอยู่ในหมู่บ้านราว 1,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ แต่ในปี 2561 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 89,000 หมู่บ้าน ทั้งนี้ ยอดขายราว 75% ของ Nestle India มาจากเขตเมือง และที่เหลือมาจากเขตชนบท เพราะฉะนั้นการขยายตลาดไปยังเขตชนบทเพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงการปรับสัดส่วนสินค้าหรือการออกสินค้าใหม่ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัท Nielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดระบุว่ายอดขายสินค้า FMCG ในเขตชนบทคิดเป็น 39% ของยอดขายสินค้า FMCG ในอินเดียทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าตลาดชนบทอินเดียยังเติบโตได้อีกมาก นอกจากนี้ Nielsen ยังระบุอีกว่าตลาด FMCG ในเขตชนบทยังขยายตัวอยู่ในอัตราสูงราว 14.2% ในเดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนในเขตเมืองเติบโตเพียง 0.8% เท่านั้น ซึ่งตลาดชนบทในช่วงก่อน COVID-19 เติบโตอย่างเชื่องช้าเนื่องจากข้อจํากัดด้านรายได้ แต่หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทําให้มีการอพยพออกจากเมืองใหญ่มากขึ้น และการบริโภคในเขตเมืองเล็กและชนบทก็เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการขยายตัวของรายได้ต่อหัวในตลาดเหล่านี้อาจมีความท้าทายอยู่ บริษัท FMCG จึงอาจจะใช้กลยุทธ์ในการออกสินค้าแบบเน้นความคุ้มค่า (Value Pack) เพื่อที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในท้องถิ่นได้

Marico เป็นอีกหนึ่งบริษัท FMCG ของอินเดียที่ได้เพิ่มจํานวนผู้ค้าส่งในเขตชนบท ซึ่งทําให้บริษัทฯ อาจจะสามารถขยายการกระจายสินค้าได้ถึง 20% ในอีกไม่กีปีข้างหน้า เช่นเดียวกับบริษัทผลิตบิสกิต Britannia Industries ที่ได้เพิ่มจํานวนผู้จัดจําหน่ายในตลาดชนบทจาก 19,000 รายในเดือนมีนาคม 2563 เป็น 23,000 รายในเดือนธันวาคม 2563

ทั้งนี้ การบริโภคในเขตชนบทอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากระดับรายได้และความต้องการสินค้าใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดสินค้า FMCG ในเขตชนบทคาดว่าจะเติบโตจาก 2.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ  ในปี 2561 เพิ่มเป็น 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม การซื้อขายในตลาดชนบทส่วนใหญ่ยังเป็นการค้าขายแบบค้าปลีกตามร้านค้าขนาดเล็กและไม่เป็นระบบ (Kirana Store) หรือเรียกง่ายๆ แบบบ้านเราก็คือร้านโชห่วยนั่นเอง ผู้ค้าสินค้า FMCG ขนาดใหญ่ที่เป็นระบบจึงอาจจะวางแผนเจาะตลาดโดยการสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านร้านค้าปลีกที่ทันสมัย และมีการกระจายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซไปพร้อมกัน เนื่องจากคาดว่าการจับจ่ายเพื่อซื้อสินค้า FMCG ในอินเดียในปี 2563 กว่า 40% จะเป็นการซื้อขายออนไลน์ ทั้งยังคาดว่าตลาด FMCG ออนไลน์ในอินเดียในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วจาก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2560

อย่างไรก็ตาม แม้การบริโภคสินค้า FMCG ส่วนใหญ่จะมาจากเขตเมือง แต่การบริโภคสินค้า FMCG บางประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์ดูแลเสื้อผ้า และเครื่องดื่มร้อนราว 40% มาจากเขตชนบท ส่วนสินค้าประเภทอาหาร เบเกอรี่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาดว่าจะเติบโตทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยผู้เล่นสําคัญในตลาด FMCG อินเดียในปัจจุบัน ได้แก่ HUL (Hindustan Unilever Ltd.), ITC (Indian Tobacco Company), Nestle India, GCMMF (AMUL), Dabur India, Asian Paints (India), Cadbury India, Britannia Industries, Procter & Gamble (P&G) Hygiene and Health Care, Marico Industries, Nirma, Coca-Cola และ Pepsi เป็นต้น โดย HUL และ Dabur India มียอดขายกว่าครึ่งมาจากเขตชนบทของอินเดียซึ่งมีประชากรราว 850 ล้านคน และเป็นคนที่อยู่ในวัยทํางานราว 400 ล้านคน

โดยเฉลี่ยแล้วชาวอินเดียในเขตชนบทมีกําลังซื้อน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของชาวอินเดียในเขตเมือง แต่ก็ถือเป็นตลาดใหม่ (Untapped Market) ที่ผู้เล่น FMCG หลายรายกําลังพยายามเข้าไปตีตลาดให้ได้ และด้วยสาเหตุที่หลายบริษัทยังคงมีมาตรการให้พนักงานทํางานที่บ้าน ประกอบกับการอพยพย้ายกลับเมืองเล็กหลังมาตรการล็อคดาวน์ในเดือนมีนาคม 2563 ทําให้การบริโภคในเมืองรองและชนบทเติบโตขึ้น นอกจากนี้ การเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตรวมถึงความนิยมในอีคอมเมิร์ซก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ทําให้ตลาดชนบทเป็นที่น่าสนใจไม่แพ้ตลาดในเมืองใหญ่เช่นกัน

ก็ขอฝากส่งท้ายไว้ว่าอินเดียยังมีอะไรให้เราแสวงหาอีกมากมายโดยเฉพาะ “โอกาส” ที่รอให้เราเปิดใจที่จะพบและคว้าไว้...แม้แต่ “ตลาดชนบท” ที่เรารู้สึกว่ายากจน แต่สุดท้ายก็ยังมี “โอกาส” ให้ทุกคนวิ่งเข้าไปแย่งชิงกันในที่สุด

เขียนโดย: อดุลย์ โชตินิสากรณ์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญการค้าในอินเดียแบบเจาะลึก

กระแส “กัญชง” ในดงอินเดีย

ปัจจุบันกระแสกัญชงกับกัญชาในไทยกำลังมาแรงมากจากกระแสการผลักดันกัญชาให้ถูกกฎหมายทั้งในด้านการครอบครอง การปลูก และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หลายคนอาจจะยังสับสนว่า “กัญชง” กับ “กัญชา” เหมือนหรือต่างกันยังไง ผมเลยไปสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตก็พบความกระจ่างในเพจ “ทันข่าว Today” ซึ่งระบุว่า ทั้งกัญชาและกัญชงเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้คือ กัญชงมีใบแคบเรียวและสีเขียวอ่อนกว่า มีลำต้นสูงและแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่ากัญชา จึงมีการนำกัญชงไปใช้เป็นพืชเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้าและเยื่อกระดาษ

แต่ถ้าต้องการจำแนกให้ลึกลงไป เพจดังกล่าวก็ให้พิจารณาจากสารประกอบที่เรียกว่าแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นั่นคือ THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) และสารสำคัญอีกชนิดคือ CBD (Cannabidiol) ซึ่งช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของ THC ถ้าต้นที่มีสาร THC น้อยกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น Hemp หรือกัญชง แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือว่าเป็น Marijuana หรือกัญชา กรณีใช้ทางการแพทย์ต้องสกัดสาร THC, CBD รวมถึงสารประกอบแคนนาบินอยด์อื่น ๆ ออกมาจากต้น ซึ่งแตกต่างจากการเสพกัญชาที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยตรง

สำหรับที่อินเดีย มีรายงานที่น่าสนใจจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย ระบุว่า กระแสที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือ “กัญชง” แต่ว่าการแปรรูปกัญชง (Hemp / Cannabis Sativa) เชิงอุตสาหกรรมในอินเดียยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี คนอินเดียมีความคุ้นเคยกับการใช้ประโยชน์จากกัญชงมาตั้งแต่โบราณ โดยนำกัญชงมาเป็นส่วนหนึ่งของสมุนไพรแบบอายุรเวท (Ayurveda) และเครื่องเทศประกอบอาหาร รวมถึงเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้า กระเป๋าและเชือกด้วย ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้มีส่วนทำให้ภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิจัยของอินเดียเข้าใจในศักยภาพของกัญชงเป็นอย่างดี และตระหนักในการควบคุมผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กัญชงมีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับในตลาดได้ง่าย

จากรายงานของ Grand View Research ระบุว่าในปัจจุบันตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียยังมีมูลค่าเป็นสัดส่วนเพียง 0.1% ของตลาดโลกเท่านั้น ในขณะที่ การใช้/บริโภคในอินเดียจะขยายตัวได้อีกมาก ทั้งการนำกัญชงไปใช้ในการผลิตน้ำมัน อาหารและเครื่องดื่ม อาหารสัตว์ เส้นใยสำหรับเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ของใช้สำหรับทำความสะอาด ปุ๋ย และวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ กระดาษรีไซเคิล วัสดุเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง รวมถึงพลังงานชีวมวล นอกเหนือจากการนำมาผลิตเพื่อใช้ในทางการแพทย์ อาทิ ยาบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ และอาการเจ็บปวดเรื้อรังต่าง ๆ นอกจากนี้ คาดว่าภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทำให้คนอินเดียหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติมากขึ้น ซึ่งเมล็ดกัญชงจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วและเนื้อสัตว์ โดยปราศจากกลูเตน และมักจะเป็นการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ด้วย เพราะกัญชงเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีศัตรูพืช จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง 

ผลิตภัณฑ์จากกัญชง

ขอบคุณภาพจาก : https://medium.com

ทั้งนี้ ผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ (IFPMA) และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) ประมาณการณ์ว่า ในปี 2567 ตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียจะมีมูลค่าประมาณ 584.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สอดคล้องกับผลการสำรวจของ All India Institutes of Medical Sciences ที่พบว่าผู้บริโภคชาวอินเดียจะตอบรับต่อผลิตภัณฑ์กัญชงได้อย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีคนอินเดียจำนวนไม่น้อยกว่า 7.2 ล้านคนที่เคยใช้กัญชงมาแล้ว โดยการซื้อมาทดลองใช้เอง และมีราคาขายปลีกในอินเดียอยู่ที่ประมาณ 4.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกรัม

ตาม พรบ. The Narcotic Drugs and Psychotropic Substances Act (1985) รัฐบาลกลางของอินเดียอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้เฉพาะที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลหรือ THC ไม่เกิน 0.3 % โดยน้ำหนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกัญชงในอินเดียส่วนใหญ่มีระดับสาร THC สูงกว่าที่กำหนดไว้ การผลิตและซื้อ-ขายกัญชงในอินเดีย จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมายตาม พรบ. ดังกล่าวอยู่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐให้สามารถพิจารณาอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์จากใบและเมล็ดของกัญชงได้ ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบและส่งเสริมโดยกระทรวงการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย (Ministry of Ayurveda, Yoga & Naturopathy: AYUSH) เป็นระยะ

ในปัจจุบันมีเพียงสามรัฐในอินเดียที่อนุญาตให้มีการปลูกกัญชงได้ ได้แก่ รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐมัธยประเทศ ส่วนรัฐอื่น ๆ อีกหลายรัฐก็มีแนวโน้มจะอนุญาตให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงเช่นกัน อาทิ รัฐมณีปุระ รัฐอานธระประเทศ และรัฐหิมาจัลประเทศ โดยรัฐอุตตราขัณฑ์เป็นรัฐแรกที่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกได้ โดยได้ให้ใบอนุญาตแก่ Indian Industrial Hemp Association (IIHA) ซึ่งเป็น NGO สามารถเพาะปลูกเพื่อทำการทดลองในพื้นที่ 6,250 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายเป็น 62,500 ไร่ และมุ่งเน้นการผลิตเมล็ดพันธุ์ และนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยสำหรับป็นสิ่งทอเป็นหลัก

แม้ว่าจะมีการเพาะปลูกในไม่กี่รัฐ แต่มีผู้นำกัญชงมาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วภายใต้กิจการของสตาร์ทอัพประมาณ 30-40 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ (Biotech Startups) อาทิ บริษัท Bombay Hemp Company (BOHECO) โดยมีโรงงานแปรรูปอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์ (เมือง Almora) และในรัฐอุตตรประเทศ (เมือง Lucknow) นอกจากนี้ ยังมี Startups อีกหลายรายที่พร้อมจะผลิตเชิงอุตสาหกรรม และขยายตลาดทั้งภายในอินเดียและตลาดโลก อาทิ Hemp Street, Best Weed และ India Hemp Organics โดยมีแบรนด์หลักในตลาด ได้แก่ VEDI, SATLIVA, BOHECO Life และ B LABEL

ขอบคุณภาพจาก : https://www.vice.com

ทั้งนี้ การผลิตสินค้าจากกัญชงในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตในปี 2564 จากการที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยและมาตรฐานทางอาหาร (The Food Safety and Security Authority of India : FSSAI) ของอินเดียซึ่งเทียบได้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ได้จัดทำร่างกฎระเบียบสำหรับการกำกับดูแลสินค้าที่นำกัญชงมาผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ The Food Safety and Standards (Food Products Standards and Food Additives) Amendment Regulations, 2020 ซึ่งผู้ประกอบการในอินเดียมองว่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนและเป็นสัญญาณที่เปิดให้สินค้ากัญชงมีการแข่งขันกันอย่างเสรีในตลาด โดย FSSAI ได้ยอมรับว่ากัญชงเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ซึ่งล่าสุดได้มีการกำหนดว่าเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกัญชงต้องมี THC ไม่เกิน 0.2mg/kg โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดการเตรียมการผลิตเครื่องดื่มกัญชงและสถานบริการเครื่องดื่มกัญชงตามมาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม คุณสุพัตรา แสวงศรี ทูตพาณิชย์ไทยประจำนครมุมไบ ประเทศอินเดียได้ให้ความเห็นว่าการเพาะปลูกและการแปรรูปในอินเดียยังต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอีกไม่ต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่สินค้าจากต่างชาติจะเข้าไปแทรกตลาดหากมีราคาที่เทียบเคียงได้กับจีน ทั้งนี้ อินเดียเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับกัญชงในอัตรา 30% โดยผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตให้นำเข้าไปเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ด้วย ดังนั้น โอกาสที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย จึงน่าจะเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในการแปรรูปกัญชงเพื่อการแพทย์และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีสภาพอากาศเหมาะสมและเกษตรกรมีทักษะในการปลูกที่ดี รวมถึงโอกาสจากการเข้าไปถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนให้กับ Tech-Startups ของอินเดียที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อรองรับการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อภาครัฐของอินเดีย (FSSAI) มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าจากกัญชงที่ชัดเจนแล้ว ในขณะที่ ผู้บริโภคในอินเดียเองก็มีความคุ้นเคยกับกัญชงอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเอื้อให้เกิดการตอบรับของตลาดได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย

ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยหรือนักลงทุนไทยที่สนใจธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ที่ประเทศอินเดียที่เป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากประเทศจีน

ขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างปรแทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top